Welcom to my blog ยินดีต้อนรับสู่บล็อค

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ S0ftwar คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
คำตอบ   Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้


ทำหน้าที่ ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
คำตอบ   การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
1.แบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆโปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities)ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
-ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็นtransaction หรือ license
-ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

3.ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
คำตอบ    เป็นโปรมแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
คำตอบ  เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์รายงาน วาดภาพ เล่นเกม หรือโปรแกรมระบบบัญชี

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
คำตอบ  เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
คำตอบ    การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้อย่างหลากหลาย เพราะมีซอฟต์แวร์ต่างๆ ช่วยสนับสนุนการทำงานเหล่านั้น เช่น ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วเครื่องบินใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว ธนาคารใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ครูและนักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดพิมพ์เอกสาร ดังนั้นซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการได้อย่างไร และก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด นั้นจึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์
     ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
คำตอบภาษาคอมพิวเตอร์  เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สื่อสารแทนผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยภาษาคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่แปลความต้องการของผู้ใช้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งมีรูปแบบ แตกต่างกันออกไป หลักการสร้างซอฟต์แวร์มีหลักการสร้างเหมือนหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือการเปิดและปิดกระแสไฟฟ้า โดยสามารถเรียกหลักการเบื้องต้นนี้ว่า “ระบบดิจิทัล” ซึ่งมีการทำงานโดยเมื่อเปิดกระแสไฟฟ้าจะแทนด้วยตัวเลข 1 และเมื่อปิดกระแสไฟฟ้าจะแทนด้วย 0 โดยระบบดิจิทัลนี้เป็นพื้นฐานของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสื่อสารหรือสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language)
          ภาษาเครื่องที่เกิดจากการปิดและเปิดกระแสไฟฟ้าเพื่อสั่งงานหรือสื่อสารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกว่า ชุดคำสั่ง และ ชุดคำสั่งหลายๆ ชุดประกอบกัน เรียกว่า ซอฟต์แวร์ โดยซอฟต์แวร์เหล่านั้นจะถูกบันทึกไว้ที่อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเพื่อนำไปใช้งานต่อไป
           แต่เนื่องจากการใช้ภาษาเครื่องเพื่อจัดทำชุดคำสั่งนั้น จะต้องประกอบไปด้วยเลข 0 และเลข 1 เป็นจำนวนมาก ทำให้เข้าใจและใช้งานยาก จึงมีการกำหนดภาษาต่างๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจภาษาเครื่องเหล่านั้นได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
         คือ ภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์แต่ละส่วนเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นได้ ภาษาระดับต่ำสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
          1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) คือ ภาษาที่พัฒนามาพร้อมกับการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปลภาษาต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวเลข 0 กับตัวเลข 1 หรือเลขฐานสองเท่านั้น เช่น 10100111 หมายถึง ตัวอักษร “ง” เป็นต้น
          ผู้สร้างหรือผู้เขียนภาษาเครื่องประเภทนี้ จำเป็นต้องมีความรู้ด้านระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสร้างหรือเขียนภาษาเครื่องได้ เพราะภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้ยาก มีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้ใช้เวลาในการสร้างมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ
           2. ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) คือ ภาษาที่ใช้รหัส สัญลักษณ์ ตัวแปลทางคณิตศาสตร์ หรือคำย่อแทนคำสั่งการทำงาน ซึ่งพัฒนามาจากภาษาเครื่องในปี พ.ศ. 2495 ประกอบไปด้วยเลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบหก และเลขฐานสิบ
          ภาษาสัญลักษณ์สามารถสื่อความหมายกับมนุษย์ได้มากขึ้น แต่คงคุณสมบัติในการควบคุมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้เหมือนภาษาเครื่อง ทำให้เป็นภาษาที่ใช้เฉพาะหรือรู้จักกันในผู้สร้างหรือผู้ศึกษาเฉพาะด้านนี้เท่านั้น การเขียนหรือการสร้างภาษานี้ยังต้องมีขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด ต้องอาศัยผู้รู้และเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ เป็นอย่างดี

ภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาระดับสูง (High Level Language)

          คือ ภาษาที่ได้รับการพัฒนาให้มีลักษณะคล้ายกับภาษาที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยผู้สร้างหรือผู้เขียนภาษาระดับสูงไม่จำเป็นต้องรู้ถึงระบบการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงมีความง่ายและใช้เวลาในการสร้างหรือเขียนน้อยกว่าภาษาระดับต่ำ

          ภาษาระดับสูงยังสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดหรือเครื่องใด ซึ่งอาจมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงภาษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

          ตัวอย่างภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาเบสิก (BASIC Language) ภาษาปาสคาล (Pascal Language) และ ภาษาโคบอล (COBOL Language) เป็นต้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาระดับสูงมาก
          เป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนาให้มีความง่ายในการเขียนและการทำความเข้าใจต่อมนุษย์มากที่สุด ซึ่งสามารถเขียนหรือสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาที่สั้นกะทันรัด โดยผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้หรือสนใจกระบวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็สามารถสร้างหรือเขียนคำสั่งนั้นลงไปได้เลย
          การสร้างหรือการเขียนภาษาระดับสูง มักสร้างหรือเขียนด้วยโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นคำสั่ง
สำเร็จรูปต่างๆ ภายในโปรแกรมสำหรับสร้างภาษาอีกทีหนึ่ง
ตัวอย่างภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาเอสคิวแอล (SQL = Structured Query Language)
ภาษาคิวบีอี (QBE = Query By Example)
          นอกจากภาษาระดับสูงมากข้างต้นแล้ว ยังมีการพัฒนาและสร้างภาษาที่เป็นภาษาธรรมชาติ (Nature Language) ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถพิมพ์คำสั่งที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ในโปรแกรมสร้างหรือเขียนภาษา จากนั้นโปรแกรมนั้นจะแปลเป็นภาษาเครื่องให้คอมพิวเตอร์
เข้าใจได้โดยตรง หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจคำสั่งนั้นก็จะถามกลับมา ภาษาธรรมชาตินี้จะใช้ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่างๆ
Knowledge Base System
               ตัวแปลภาษา
 เนื่องจากเราสามารถสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจได้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น คือ “ภาษาเครื่อง” ซึ่งเป็นภาษาที่มีความสลับซับซ้อนและเข้าใจยาก มนุษย์จึงสร้างหรือเขียนโปรแกรมสำหรับแปลภาษาขึ้น เรียกว่า ตัวแปลภาษา (Language Translator) โดยทำหน้าที่แปลภาษาต่างๆ ให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งของภาษาที่ถูกป้อนเข้าไปได้
ตัวแปลภาษาของภาษาสัญลักษณ์หรือภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาในระดับต่ำของภาษาคอมพิวเตอร์
คือ ตัวแปลภาษาสำหรับภาษาระดับสูงและระดับสูงมาก มีหลักการทำงานโดยการแปลคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม
คือ ตัวแปลภาษาในระดับสูงและระดับสูงมาก มีหลักการทำงานโดยการแปลคำสั่งทั้งหมดเก็บไว้ในแฟ้มก่อน แล้วจึงสั่งให้เครื่องทำงานทีเดียวจนจบโปรแกรม ตัวแปลภาษาคอมไพเลอร์จึงมีการทำงานเร็วกว่าอินเทอร์พรีเตอร์ตัวแปลภาษาจะเปลี่ยนไปตามภาษาต่างๆ ที่ใช้ตามระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ  1. แอสเซมเบลอร์ (Assembler)   2. อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) และ 3. คอมไพเลอร์ (Compiler)
8.ระบบปฎิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
คำตอบ  คอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนามาอย่างมากมายหลายรุ่น ตั้งแต่ยุคแรกๆ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยุคแรกๆ คอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาจากหลอดสูญญากาศ มีขานาดใหญ่มาก แต่ในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ผลิตจากแผงวงจรรวมที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถสูง ขนาดเล็ก พกพาได้สะดวกขึ้นมาก แต่ถึงแม้ว่าตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาไปอย่างมากจนชนิดเทียบกับอดีตเป็นคนละเรื่องกันก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังคงมีลักษณะเหมือนเดิม
     ระบบปฎิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การทำสำเนาข้อมูล Copy การเรียงลำดับSort การลบ Delete และอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น